ทองเพชรบุรี
  English  
 


ทองเพชรบุรี

 
 
ทองเพชรบุรี
 


     “ร้านกรุช่าง เครื่องทองโบราณ” รับสั่งทำ เครื่องทองโบราณ สร้อยคอทองโบราณ สร้อยข้อมือทองโบราณ กรอบพระทอง จี้ทองโบราณ ทับทรวง แหวนทองโบราณ กำไลทองโบราณ ต่างหูทองโบราณ เครื่องประดับแต่งงาน ปิ่นทองโบราณ ผอบทอง เครื่องถมเงิน เครื่องถมทอง งานเครื่องประดับ ทองโบราณ อื่นๆ ทับทรวงทองคำสลักดุน ลงยาราชาวดี ผอบทองคำ ผอบเงินแท้ ฉัตรทองคำ ฉัตรเงินแท้ เครื่องทรงพระ และงาน เครื่องทองโบราณสลักดุน ลงยาราชาวดี อื่นๆ ตามแบบ เครื่องทองโบราณ ทองเพชรบุรี เครื่องประดับโบราณ ทองโบราณเพชรบุรี
ร้านกรุช่าง เครื่องทองโบราณ โทร. 083-7188850
     


     ทับทรวง คือ เครื่องประดับชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ประดับเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาลสะพายแล่งทับหน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก ซึ่งมีรูปทรงดัดแปลงมาจากลายประจำยาม ตรงกลางยกสูงประดับพลอย ในส่วนลวดลายอาจเป็นลายไทย, เทศ ทับทรวง มี 2 ชนิดคือ จี้ตัวผู้ และจี้ตัวเมีย โดยจี้ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า และมีตุ้งติ้งห้อยตรงส่วนปลายของจี้ ส่วน จี้ตัวผู้ ไม่มีตุ้งติ้งห้อยตรงส่วนปลายของจี้

ทับทรวง เครื่องทองโบราณ ทองเพชรบุรี

     รูปทรงทับทรวงปรากฏเค้าโครง ลายประจำยามชัดเจน คือเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายช้อยเล็กน้อย ใจกลางลายเป็นช่อวงกลม หรือ รี ลายประกอบเป็นไป ตามแต่ช่างออกแบบ ทับทรวงนี้ เป็นงานสลักดุน ประดับอัญมณีแบบโบราณ ภายในทับทรวงบรรจุชัน เพื่อให้ชิ้นงานคงรูป ไม่เสียรูปทรงเมื่อใช้

 
ทองเพชรบุรี
     
ทองเพชรบุรี   กำไลก้านบัว และ กำไลหัวบัว ทองโบราณ ทองเพชรบุรี

     สมัยโบราณ กำไลข้อเท้าสำหรับเด็กในสมัยก่อน มีลักษณะเป็นห่วงกลมใหญ่ ส่วนปลายทั้งสองมีรอยขีดเป็นเส้นรอบ เมื่อสวมใส่ใช้วิธีบิดไปด้านข้าง เรียกว่า กำไลก้านบัว อีกชนิดหนึ่งเป็นกำไล ซึ่งมีปลายเป็นรูปดอกบัวหลวง อาจใช้วิธีการทำเช่นเดียวกับกำไลก้านบัว แต่ส่วนปลายดุนเป็นรูปดอกบัว การสวมใช้วิธีบิดเช่นกัน หรือเป็นกำไลแข็ง ใช้การสลักและดุนดอกลวดลายกลีบบัว ลายประจำยาม กำไลประเภทสุดท้ายนี้ส่วนที่เป็นทองคำ จะเป็นส่วนปลายทั้งสองข้าง ส่วนกลางของกำไลจะทำด้วยนาก

     การประกอบเรือนมีสลักและเดือยเกลียว ที่ปลายหนึ่งของกำไล เมื่อใส่และถอดต้องคลายเดือยเกลียว เพื่อถอดหัวบัวออก ช่างทองจะแกะลวดลาย ส่วนก้านทองและปลายกำไล

     

     

 



     ต่างหูนี้มีลักษณะคล้าย พวงผลระย้าของต้นเต่าร้าง ซึ่งเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายหมากไทย ต่างหูเต่าร้างมีรูปทรงโปร่งโค้งในส่วนบน ลวดลายและวิธีการทำส่วนนี้เป็นเช่นเดียวกับส่วนล่างของกระดุมดอกบัว แต่ส่วนขอบ จะดัดโค้งกระทะคว่ำ ในช่วงพวงระย้าจะติดดอกสักเล็กๆ ต่อเนื่องห้อยลงมา 2 - 4 ดอก ส่วนปลายสายระย้า ทุกสายประดับทอง แผ่นรูปข้าวหลามตัดชิ้นเล็ก คล้ายใบของเต่าร้าง

     เมื่อผู้ใส่ต่างหูเต่าร้างเคลื่อนไหว จะทำให้พวงเต่าร้างไหวพลิ้ว เช่นเดียวกับใบเต่าร้างต้องลม ช่างทอง สามารถจำลองลักษณะเด่น ของพวงระย้าไว้ในต่างหู แม้จะมีที่มาจากธรรมชาติ และเป็นแบบโบราณดั้งเดิมแต่ต่างหูนี้ เป็นแบบที่ไม่เคยล้าสมัยเลย
ทองเพชรบุรี
ทองเพชรบุรี
ทองเพชรบุรี
   
ทองเพชรบุรี
     
      เครื่องประดับชุดปะวะหล่ำ เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากชาวจีน โดยมีความเชื่อกันว่า โคมไฟ ซึ่งให้ความสว่างไสว เปรียบประดุจสัญลักษณ์แห่งความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง ปะวะหล่ำมีลักษณะเด่นที่รูปทรง มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกโปร่งหกเหลี่ยม กรรมวิธีการสร้างงาน คือเป็นงานลวดดัดลาย ที่ละเอียดสวยงาม แสดงลักษณะเฉพาะในเชิงช่างของงาน เครื่องทองเพชรบุรี ลวดลายเป็น ลวดทองบิดเกลียว ดัดเป็นรูปดอกไม้ ช่างทองได้ปรับประยุกต์เทคนิคและ รูปแบบสร้างเป็นงาน

      เครื่องประดับ ปะวะหล่ำที่ตกแต่งด้วยการฝังอัญมณี คือ ทับทิม ประดับเกสรของดอกไม้ทั้ง 6 ด้าน เรียกว่า ปะวะหล่ำทรงเครื่อง สร้อยคอ หรือสร้อยมือปะวะหล่ำ จะร้อยคั่นด้วยลูกปัด ทองเม็ดเรียบเสมอ อันเป็นรูปแบบที่เหมาะสม กับปะวะหล่ำซึ่งมีผิวลายลวดดัด
 
 
 
     เครื่องประดับลูกไม้ปลายมือ มีมาแต่สมัยอยุธยา ช่างผู้เป็นต้นคิดสร้างสรรค์ อาจได้แรงบันดาลใจ จากลูกผลไม้ที่มีธรรมชาต ิอันอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินไทย ที่พืชพรรณธัญญาหาร มีพร้อมมูลตลอดปี รูปแบบของงาน สื่อถึงความหมายของชื่อ และสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของ แรงบันดาลใจ ของช่างได้เป็นอย่างดี

ทองเพชรบุรี
ทองเพชรบุรี
 
 
  ทองเพชรบุรี
     นาค หรือ พญานาค เป็น ความเชื่อ ในภูมิภาค เอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็น งู ขนาดใหญ่มีหงอน เป็น สัญลักษณ์ แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่ จักรวาล อีกด้วย

     ต้นกำเนิดความเชื่อ เรื่องพญานาคน่าจะมาจาก อินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะใน มหากาพย์ มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของ ครุฑ ส่วนในตำนาน พุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

     ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนาน เรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้ มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ใน แม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบ รอยพญานาคขึ้นมาใน วันออกพรรษา โดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
 
 
     ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อ ในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้น มีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสี แตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดา จะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์ รูปร่างสวยงาม


     เชื่อกันว่าพญานาคนำมาซึ่งความสุข ความบริบูรณ์ในชีวิต ตลอดจนทำให้รอดพ้นจากเหตุร้ายที่กล้ำกรายถึงชีวิต โดยมากพญานาคจะปรากฏใช้ในรูปแบบพระธำมรงค์และพาหุรัด (กำไลต้นแขน) ของพระมหากษัตริย์ อันแสดงถึงพระราชอำนาจ และเดชานุภาพเหนือพระราชอาณาจักรและไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั้งปวง ดังนี้แหวนพญานาคจึงมักสวมกันที่นิ้วชี้ โดยพญานาคหันเศียรเข้าหานิ้วโป้ง เพราะนิ้วชี้เป็นนิ้วที่ใช้ชี้ออกคำสั่งนั่นเอง เศียรพญานาคจะใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ ทั้งหมด ลายกระหนกคล้ายครีบบนสันหลัง และแนวขอบแหวนจะเป็นลายแกะ ส่วนปลายลายบิดโค้งคล้ายกระหนกเปลว นอกจากนี้ ช่างจะแกะลายเส้น เพื่อลดช่องว่างของผิวทอง ตามท้องพญานาค และบริเวณเกล็ดพญานาคด้านบน มีการลงยาสีแดงและเขียว แหวนและกำไลพญานาค มีลักษณะพิเศษอีกประการคือ ลิ้นของพญานาค สามารถเลื่อนเข้าออกและกระดกได้ เมื่อผู้สวมใส่เคลื่อนไหวมือ อาจลงยาสีแดงที่ลิ้นหรือไม่ก็ได้
ทองเพชรบุรี
     
ทองเพชรบุรี
จั่นมะพร้าว
แบบจั่นมะพร้าว ได้แรงบันดาลใจจากดอกของต้นมะพร้าว มะพร้าวเป็นผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งใช้ในงานพิธีแทบทุกประเภท ในวิถีชีวิตไทยจากสามัญชนจนถึงเจ้าฟ้า ผลไม้สำคัญนี้ จึงเป็นที่มาของเครื่องประดับ ที่มีลวดลายเฉพาะตัว ประกอบด้วยงานลวดเกลียวและไข่ปลาขนาดจิ๋ว บ่าแหวนประดับดอกพิกุล
     
 
ลูกสน / ทองโบราณ เพชรบุรี
ลูกสนประกอบด้วย โครงลวดทองขนาดเล็ก มาต่อประกอบกันเป็นลูกสน จากคำบอกเล่าของนางสาวทองคำ ทองสัมฤทธิ์ ช่างทองเมืองเพชรรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลทองสัมฤทธิ์ เล่าว่า ลูกสนในสมัยแรกๆ ในส่วนไข่ปลา ซึ่งเชื่อมติดอยู่บนโครงของลูกสน จะมีไข่ปลาเพียง 1 เม็ด แต่ในปัจจุบัน จะใช้ไข่ปลาขนาดเล็ก เชื่อมต่อเป็นดอกพิกุลขนาดเล็ก แล้วจึงนำมาประดับ บนโครงลูกสนอีกทีหนึ่ง เครื่องประดับลูกสน มีที่มาจากรูปทรง ธรรมชาติที่โดดเด่น เป็นทองรูปพรรณที่ละเอียด และประกอบขึ้นด้วยฝีมือชั้นเยี่ยม ในวิธีการทำไข่ปลา อันเป็นลักษณะเด่นของงาน ทองเพชรบุรี
ทองเพชรบุรี
 
ทองเพชรบุรี
 

แหวน/กำไลพิรอด
ในสมัยโบราณ พิรอดคือ แหวนเครื่องรางถักด้วยผ้ายันต์หรือสายสิญจน์ เชื่อกันว่าบันดาลให้แคล้วคลาด จากภยันตราย โชคร้ายและความชั่วร้าย แหวนพิรอดประดับพลอย นิยมฝังพลอยนพเก้า แบบสมบูรณ์ จะฝังพลอยนพเก้า และลงยาสีแดงกับเขียว
 
 
ทองเพชรบุรี
     
ทองเพชรบุรี
ดอกพิกุล 
ต้นพิกุล พบเห็นปลูกในวัดทั่วไป เชื่อกันว่าพิกุลเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่สถิตของเทพ ดอกพิกุล มีขนาดเล็กบอบบาง และหอมทนนาน เป็นเครื่องประกอบ ในการปรุงแป้งร่ำน้ำอบต่างๆ ที่ใช้ในราชสำนัก ลายพิกุลแต่ละดอก ประดิษฐ์ประดอยขึ้นจากลวดเกลียว และไข่ปลาขนาดจิ๋ว ช่าง มักใช้ตกแต่ง หรือประกอบทองรูปพรรณ ลวดลายอื่นๆ ดอกพิกุลมี 3 แบบ คือ ดอกพิกุล ซึ่งประกอบด้วยไข่ปลาขนาดจิ๋ว 5-6 เม็ดวางเรียงกัน แล้วเทินด้วยไข่ปลาหนึ่งเม็ด ด้านบน ดอกพิกุล แบบที่สองทำด้วยลวดทอง ขนาดเล็ก แบบที่สาม เป็นดอกพิกุลซึ่งประกอบด้วย ลวดทองและเทินไข่ปลา เป็นเกสรของดอกพิกุล การใช้กรอบดอกพิกุลไข่ปลาล้อมอัญมณี จะช่วยขับความสวยงาม ของอัญมณีเม็ดยอดยิ่งขึ้น บ่าข้างของเรือนแหวน ยังประดับด้วยดอกพิกุล ซึ่งทำด้วยลวดทองทั้ง 2 ข้าง
 
 
ทองเพชรบุรี
     
 
แหวน/กำไล นพเก้า

นพเก้า นพรัตน์ เป็นชื่อเครื่องประดับ ซึ่งมีแบบเฉพาะและประดับอัญมณี 9 ชนิดตามคติความเชื่อลัทธิพราหมณ์ เชื่อกันว่าอัญมณีแต่ละชนิด มีพลังอำนาจต่างๆ กันแฝงอยู่ นพเก้า จึงนำสิริมงคลมาสู่ผู้ครอบครองเป็นเจ้าของ ในสมัยก่อน แม่ทัพจะแต่งกาย ด้วยเครื่องประดับนพเก้า เป็นเครื่องรางแห่งชัยชนะในการออกรบ อัญมณี 9 ชนิดนี้ ประกอบด้วยพลอยเนื้อแข็ง และพลอยเนื้ออ่อน ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน บุษราคัม มรกต โกเมน เพทาย ไพฑูรย์และมุกดา อัญมณีทั้งหมดยกเว้นเพชรซีก นิยมใช้แบบเจียระไนหลังเบี้ยเสมอ แหวนนพเก้าแบบดั้งเดิมแท้ จะมียอด 3 ชั้น
  ทองเพชรบุรี
 
ทองเพชรบุรี
แหวนตะไบ
แหวนตะไบเป็นแหวนฝังพลอยหรือเพชรซีก แต่ช่างทองเพชรบุรี จะสร้างลวดลายตกแต่ง โดยการตะไบขอบทั้ง 2 ข้าง ของเรือน แหวนให้เป็นร่องลึก แหวนดังกล่าวจึงเรียกว่า แหวนตะไบ
 
 
ทองเพชรบุรี
       
 
แหวนอยุธยาโบราณ / ทองโบราณ
แต่โบราณแหวนนี้ มีใส่กันแต่ในหมู่ชนชั้นเจ้านาย ที่ได้รับพระราชทานจากองค์พระมหากษัตริย์ โดยนัยแล้วย่อมเป็นเครื่องบอกถึงสถานภาพ และยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้ครอบครอง จากปูมกำเนิดและลักษณะ รูปทรงย่อมกล่าวได้ว่า แหวนอยุธยาโบราณ เป็นเครื่องประดับที่สื่อถึงอำนาจ รายละเอียดตกแต่งแหวน มีส่วนประกอบวิจิตรบรรจง และประดับอัญมณีหลายชนิด รูปแบบของแหวนปรับเปลี่ยนได้ โดยเพิ่มหรือลดไข่ปลาและเพชรที่ประดับ หรือเปลี่ยนพลอยเม็ดยอด
 
 
ทองเพชรบุรี
       
 
ผีเสื้อ
ผีเสื้อเป็นทองรูปพรรณ ซึ่งมีรูปแบบการสร้างสรรค์ จากโครงสร้างของผีเสื้อ อาทิ แหวนรูปผีเสื้อฝังอัญมณี ส่วนปลายของผีเสื้อมีตุ้งติ้ง ทองรูปพรรณลายผีเสื้อ อีกสองแบบทำเป็นต่างหูตัวผีเสื้อ แบบหนึ่งคงรูปร่าง เช่นเดียวกับแหวน อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม เช่นกันได้ปรับเปลี่ยน เป็นเทคนิคดัดลวดเดินลายตัวผีเสื้อ และยังทำตุ้งติ้งอีก 2 ชั้น เป็นรูปผีเสื้อ ขนาดเล็กลดหลั่นกันลงมา


ร้าน เครื่องทองโบราณ ทองเพชรบุรี ทองโบราณ โทร. 083-7188850
 
 
 
 

 
เครื่องทองโบราณ
  - สร้อยคอทองโบราณ
  - สร้อยข้อมือทองโบราณ
  - กรอบพระทองโบราณ
  - จี้ทองโบราณ
  - ทับทรวง
  - แหวนทองโบราณ
  - กำไลทองโบราณ
  - ต่างหูทองโบราณ
  - เครื่องประดับแต่งงาน
  - ปิ่นทองโบราณ
  - ผอบทอง
  - เครื่องถมเงิน เครื่องถมทอง
  - งานเครื่องประดับ อื่นๆ
 
 

ร้าน กรุช่าง เครื่องทองโบราณ ทองเพชรบุรี ทองโบราณ ทองโบราณเพชรบุรี
ดิโอลด์สยามพลาซ่า ชั้น 2 โซนผ้าไหม : โทร.083-7188850, 089-4597773
Copyright 2011 Guruthaiantiquejewelry.com

Thai English