ช่าง ทองโบราณ เพชรบุรี
  English  
 


เกี่ยวกับเรา

 
 
 


 
เกี่ยวกับเรา
     
  ด้วยความอนุเคราะห์จากนิตยสารพลอยแกมเพชร (ฉบับปีที่ ฉบับที่ ประจำเดือน พ.ศ.)

ภารกิจร่วมสมัยของ 'ช่างทองหลวง'

โดย : รัชดา ธราภาค

'ช่างทองหลวง' ฟังแล้วนึกถึงนายช่างยุคเก่า ที่เข้าถวายงานทำทองในรั้วในวัง แต่ที่จริงแล้วนี่เป็นตำแหน่งงานประจำ

 
     
 

สำนักพระราชวัง ที่เพิ่งถูกตั้งขึ้นในช่วงสิบปีมานี้ หลังจากที่ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง ผลิตบุคลากร ซึ่งมีความรู้เฉพาะทางและความชำนาญ ด้านเครื่องทองโบราณอย่างแท้จริง

"เราไม่มีช่างทองโบราณเหลืออยู่แล้ว ครูเครื่องทองที่มีชีวิตอยู่ เป็นผู้ที่มีความรู้ เรื่องการทำทองในยุค 30-40 ปีนี้ แต่เราไม่มีผู้รู้ เรื่องเทคนิควิธี ของเครื่องทองสมัยอยุธยา ถึงต้นรัตนโกสินทร์ หรือแม้แต่ในช่วงรัชกาลที่ 6 และ 7 โดยเฉพาะเครื่องทองของเจ้านาย ที่มีความสวยงาม และแตกต่างจากงานทองทั่วไป" นิพนธ์ ยอดคำปัน นักเรียนรุ่นแรกของกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง หลังเรียนจบกว่าสิบปี วันนี้เขามีตำแหน่งเป็น ช่างทองหลวง ประจำสำนักพระราชวัง และมีบทบาทสำคัญ ในการสนับสนุน การผลิตบุคลากรรุ่นต่อๆ ไปของทางสถาบัน ในฐานะรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่า

นอกจากเป็นบัณฑิตยุคบุกเบิก ที่ได้บรรจุเข้าทำงานในตำแหน่ง ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสเข้าถึง 'นิพนธ์' ยังมีประสบการณ์รอบด้าน และมุมมองน่าสนใจ ว่าด้วยงานเครื่องทองโบราณ ของไทย ในยุคแห่งการดีไซน์มาเล่าสู่กันฟัง

ช่างทองหลวง
 


ส่องเครื่องทอง เห็นสังคมไทย

ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ในการเป็นนักศึกษารุ่นแรกของกาญจนาภิเษก ช่างทองหลวง เมื่อ 15 ปีก่อน 'นิพนธ์' ถือเป็นหนึ่งในจำนวนนักศึกษา 20 คนที่ต้องมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ให้กับสถาบัน เพราะในเมื่อช่างทองหลวงตัวจริงพากันล้มหายตายจาก แบบไร้ผู้สืบสานภูมิรู้ 'ครูโบราณ' ที่เหลืออยู่ก็คือชิ้นงานทอง ซึ่งทางสำนักพระราชวัง 'เปิดกรุ' วัดพระแก้วเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการสังเกต วิเคราะห์ และลงมือจริง

"บางคนไม่กล้าแตะชิ้นงาน แต่ผมถือว่ากลัวครูไม่รู้วิชา ต้องจับต้องทำถึงจะรู้จริง นอกจากนั้นก็เป็นการนำวิธีของครูช่างทองปัจจุบัน ซึ่งเขาไม่เคยเห็นงานโบราณในวังมาดูว่าใช้วิธีการเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร" นิพนธ์ เผยบางส่วนของกระบวนการเรียนรู้ในช่วง 7 ปีของชีวิตนักศึกษาช่างทองหลวง

หลังสำเร็จการศึกษา 'นิพนธ์' และเพื่อนอีกจำนวนหนึ่ง ได้บรรจุงานในตำแหน่งช่างทองหลวง ประจำสำนักพระราชวัง ภารกิจหลักคือการซ่อมแซมเครื่องทอง ซึ่งมีทั้งเครื่องประดับ และข้าวของเครื่องใช้ โดยเฉพาะสำหรับพระราชพิธีต่างๆ

ส่วนชีวิตอีกด้าน คืองานของกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฯ ทั้งในด้านการเรียนการสอน รวมไปถึงงานซ่อมแซม และสร้างสรรค์ชิ้นงานทองสำหรับวาระโอกาสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีลูกค้า ที่มาจ้างวานให้เขาผลิตชิ้นงานโดยตรงอีกหลากหลายรูปแบบ

"งานซ่อมยากกว่างานสร้าง ทำมากไปก็เพี้ยน หลักคือต้องดูร่องรอยเดิม ถ้าชำรุดจนไม่รู้ว่าของเดิมเป็นอย่างไร เราจะไม่ทำ หากของชำรุด จนใช้ไม่ได้ก็เก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ไปเลยดีกว่า" นิพนธ์ ขยายความถึงงานการซ่อมแซมเครื่องทอง

ขณะที่หลักการสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน 'นิพนธ์' บอกว่างานที่สร้างทำขึ้นใหม่ แม้จะใช้เทคนิควิธีแบบโบราณ แต่สำหรับเขา งานต้อง 'เนี้ยบ' เท่านั้น และถึงความสมบูรณ์พร้อมจะทำให้ดูแล้วไม่เหมือนของเก่า แต่เขามองว่า นี่คือการบันทึกประวัติศาสตร์ของยุคสมัยลงบนชิ้นงาน

"คนโบราณมีเหตุผลที่จะทำงานออกมาแบบนั้น อาจจะเป็นความตั้งใจหรือข้อจำกัด เช่น ใช้แผ่นทองบางมากเพราะเป็นยุคที่ต้องประหยัด บางทีเปอร์เซนต์ทองอ่อนเพราะไม่มีเครื่องสกัด ช่างบางยุคเป็นคนจีน งานที่ออกมาดูก็รู้ว่าไม่ใช่คนไทยทำ หรือทับทรวงสมัยก่อน เขาอัดคลั่งหรือขี้ผึ้งไว้ด้านหลังให้งานแข็งแรง แต่ถ้าเราทำแบบนั้น ลูกค้าจะเช็คน้ำหนักทองไม่ได้" ดังนั้น เหตุผลของงานในยุคนี้ที่สร้างโดย 'นิพนธ์ ช่างทองหลวง' จึงเป็นความตั้งใจ ที่จะบันทึกฝีมือ ที่ถึงพร้อมด้วยเทคนิคอุปกรณ์ แม้กระทั่งมูลค่าที่สูงลิบลิ่วของชิ้นงาน เขาก็มองว่าเป็นการจารึกถึงความรุ่มรวย รวมไปถึงศรัทธาแห่งยุคสมัยด้วยเช่นกัน

"มีงานถวายพระเยอะเหมือนกัน ก็ชอบนะ งานของเราเขาเอาไปบูชากราบไหว้ บางคนให้ไปทำห้องพระบุทองมูลค่าหลายสิบล้าน หรือฐานพระพุทธรูปประดับพลอย" นิพนธ์ ยกตัวอย่างความรู้ฝีมือช่างโบราณ ที่สามารถรองรับความต้องการ ของยุคปัจจุบัน ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย โดยเฉพาะในงานพุทธศิลป์

ทางขนาน: ทองโบราณ กับงานดีไซน์

อย่างไรก็ตาม 'นิพนธ์' มองว่าความรู้ความชำนาญของเขาและเพื่อนๆ น้องๆ ร่วมสถาบันคืองานช่างเชิงอนุรักษ์ และแม้จะมีการเสริมความรู้เกี่ยวกับการทำเครื่องประดับ สมัยใหม่ให้กับนักศึกษา แต่โอกาสที่บัณฑิตจะได้ใช้ความรู้งานทองโบราณ เพื่อตอบสนองการตลาดยุคใหม่กลับมีไม่มาก

"เด็กส่วนใหญ่จบแล้วก็ไปทำงานบริษัท ถือเป็นช่างฝีมือดีที่มีความรู้เรื่องทองโบราณ แต่ถ้าพูดถึงโอกาสที่จะได้ใช้วิชาความรู้ เฉพาะทางที่เรียนมาต้องยอมรับว่ามีไม่มาก เพราะชิ้นงานจะใช้เทคนิคไหนอยู่ที่การออกแบบ" นิพนธ์ มองว่าแม้สังคมไทย จะให้ความสำคัญกับงานเครื่องทองไทย และการออกแบบเครื่องประดับค่อนข้างมาก ในช่วงสิบปีมานี้ แต่ปัญหาคือ ต่างคนต่างทำไปคนละทิศละทาง

"ตั้งแต่ผมทำทอง ยังไม่มีฝรั่งมาซื้อ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้คนชาติอื่นมาสนใจ ของโบราณของบ้านเรา ถ้าเขาจะซื้อก็ต้องเป็นชิ้นที่เรียบๆ เก๋ๆ"

นิพนธ์เห็นความจำเป็น ที่ความรู้เรื่องเครื่องทองโบราณ จะต้องผสานกับศาสตร์ด้านการออกแบบสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพื่อสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ไทย และตอบสนองต่อความต้องการของยุคสมัย ไม่ว่าจะของชาวไทย หรือต่างชาติไปพร้อมกัน

ช่างทองหลวง

 
     
 

เครื่องประดับ ทองโบราณ เพชรบุรี โทร. 083-718850

 
     
     

 
เครื่องทองโบราณ
  - สร้อยคอทองโบราณ
  - สร้อยข้อมือทองโบราณ
  - กรอบพระทองโบราณ
  - จี้ทองโบราณ
  - ทับทรวง
  - แหวนทองโบราณ
  - กำไลทองโบราณ
  - ต่างหูทองโบราณ
  - เครื่องประดับแต่งงาน
  - ปิ่นทองโบราณ
  - ผอบทอง
  - เครื่องถมเงิน เครื่องถมทอง
  - งานเครื่องประดับ อื่นๆ
 
 

ร้าน กรุช่าง เครื่องทองโบราณ ช่างทองหลวง นิพนธ์ ยอดคำปัน ช่าง ทองโบราณ เพชรบุรี
ดิโอลด์สยามพลาซ่า ชั้น 2 โซนผ้าไหม : โทร.083-7188850, 089-4597773
Copyright 2011 Guruthaiantiquejewelry.com

Thai English